แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ข้อ ๑๔ แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ
เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดในหลักสูตร ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ภารกิจของสถานศึกษาในการดำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีดังนี้
๑) กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค โดยให้ความสำคัญ ของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายปี/ปลายภาค
๒) กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน
๓) กำหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริมระหว่างเรียน
๔) กำหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริม สอบแก้ตัว
กรณีผู้เรียนมีระดับผลการเรียน “๐”
๕) กำหนดแนวปฏิบัติในการอนุมัติผลการเรียน
๖) กำหนดแนวทางในการรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕ แนวทางการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
เป็นการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของผู้เรียนตามจุดเน้น ของหลักสูตร ภารกิจของสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการ มีดังนี้
๑) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน
๒) ศึกษานิยาม หรือความหมายของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน กำหนดขอบเขตและตัวชี้วัด
๓) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันศึกษา หลักการประเมิน และพิจารณากำหนดรูปแบบ
วิธีการพัฒนาและประเมิน
๔) กำหนดแนวทางการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน ประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนให้สอดคล้อง
กับขอบเขตและตัวชี้วัดและกำหนดระดับคุณภาพหรือเกณฑ์ในการประเมิน
๕) ดำเนินการพัฒนา ประเมินและปรับปรุงแก้ไขความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียน
๖) สรุปและตัดสินผลการประเมิน บันทึกและรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ แนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เป็นการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างค่านิยมอันดีให้แก่ผู้เรียนตามจุดเน้นของหลักสูตร ภารกิจของสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการ มีดังนี้
๑) แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการ ทำความเข้าใจกับครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
/รายวิชา ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
๒) กำหนดเกณฑ์และคำอธิบายระดับคุณภาพให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน
ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนด
๓) กำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมินให้เหาะสมกับตัวชี้วัด
๔) ดำเนินการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการประเมินเป็นระยะ ๆ
๕) กำหนดระดับพฤติกรรมบ่งชี้
๖) เมื่อสิ้นภาค สิ้นปี ครูผู้สอนแต่ละคนส่งผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคนที่รับผิดชอบให้คณะกรรมการของสถานศึกษา โดยมีครูวิชาการ โรงเรียนเป็นเลขานุการ
๗) ครูวิชาการโรงเรียนดำเนินการประมวลผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
๘) เสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ข้อ ๑๗ แนวทางการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เป็นการประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรกำหนด ภารกิจสถานศึกษาที่จะต้องดำเนินการ มีดังนี้
๑๗.๑ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม
๑) ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนตามเวลาที่สถานศึกษากำหนด
๒) ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงาน
ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
๓) ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงาน
ของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดเป็นผู้ผ่านการประเมิน
๔) ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านในเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
หรือเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียน
หรือทั้งสองเกณฑ์ถือว่าไม่ผ่าน
๑๗.๒ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการตัดสิน
๑) กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียนของผู้เรียนทุกคน
๒) ผู้รับผิดชอบสรุปและตัดสินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนทุกคน
๓) นำเสนอผลการประเมินต่อคณะอนุกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ความเห็นชอบ
๔) เสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติ